กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยพร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ปี 2565 คาดการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 2.5-3.5

 

 

 

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยพร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ปี 2565 คาดการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 2.5-3.5

 

 

ก.อุตฯ พร้อมลุยเดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสำคัญ ปี 2565 คาดการณ์ GDP อุตฯ ขยายตัวร้อยละ 2.5-3.5 รับแรงหนุนตลาดส่งออกโตต่อเนื่อง

 

 

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยพร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ปี 2565 คาดการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 2.5-3.5 สอดคล้องประมาณการดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัวร้อยละ 4.0-5.0 รับตลาดส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง และการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ

 

 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า ปี 2564 กระทรวงอุตสาหกรรมได้ขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมสอดคล้องกับสถานการณ์การผลิต ต่อยอดอุตสาหกรรมกลุ่มเดิมที่มีศักยภาพ (First S-Curve) และการเพิ่มเติมอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) เช่น (1)ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ต่อยอดการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ของไทยในภูมิภาคโดยมีผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนการผลิตยานยนต์ไฟฟ้ารอบใหม่รวม 18 บริษัท 26 โครงการ กำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) รวม 136,000 คัน (2)ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เกิดการลงทุนมูลค่ารวมกว่า 1.16 แสนล้านบาท โดยมีผู้ประกอบการ 210 กิจการ ขอรับการส่งเสริมการลงทุน มูลค่ารวม 22,845 ล้านบาท (3)ขับเคลื่อนและเร่งรัดการลงทุนอุตวาหกรรมชีวภาพในพื้นที่นำร่อง (EEC, นครสวรรค์) เกิดการลงทุนแล้ว 5 โครงการ มูลค่ากว่า 39,870 ล้านบาท รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ซึ่งมีผู้ผลิตได้ใบรับรองแล้ว 5 ราย จำนวน 49 ใบรับรอง (4)ยกระดับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ยกระดับผู้ประกอบการด้านต่าง ๆ เช่น ยกระดับสู่เกษตรอุตสาหกรรม (เกษตร 4.0)/Smart Farmer /เกษตรอินทรีย์ กว่า 180,000 ราย พัฒนาผู้ประกอบการให้เป็นนักรบพันธุ์ใหม่ Food Warriors/ Industry 4.0 / Digital Startup กว่า 30,000 ราย และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายเมืองนวัตกรรมอาหารอย่างต่อเนื่องร่วมกับ 16 มหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมให้เกิดผู้เชี่ยวชาญนวัตกรรม ด้านอาหาร เป็นต้น

 

 

อย่างไรก็ตาม นโยบายการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมในปี 2565 ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญต่อการยกระดับพัฒนาและคำนึงถึงสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยจะนำเสนอนโยบายสำคัญต่อคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมศักยภาพตลอดห่วงโซ่อุปทาน และเกิดการบูรณาการกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น (1)การกำหนดสาระสำคัญของกระบวนการผลิตในเขตประกอบการเสรี (Free Zone) เพื่อให้สอดรับกับมาตรการส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้เกิดการลงทุนภายในประเทศ (2)การจัดเตรียมสินเชื่อจากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ อัตราดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 2 ต่อปี เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ รวมถึงพัฒนาแพลตฟอร์มอุตสาหกรรม 4.0 โดยทำหน้าที่เป็น One Stop Service (3)การจัดพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เพื่อขจัดอุปสรรคการลงทุน และสร้างปัจจัยสนับสนุนให้เอื้อต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมชีวภาพ ตลอดจนการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพ ซึ่งคาดว่าแล้วเสร็จเดือนเมษายน 2565 เพื่อเชื่อมโยงงานวิจัยสู่ภาคอุตสาหกรรม และขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพอย่างต่อเนื่อง ผ่านมาตรการส่งเสริมการผลิตและใช้ประโยชน์พลังงานหมุนเวียนจากอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย (4)เร่งพัฒนาพืชเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น ปาล์ม แป้งมันสำปะหลัง เพื่อสร้างรายได้เพิ่มแก่ภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม (5)เร่งสร้างนักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง พร้อมผลักดันการพัฒนาอาหารอนาคต โดยบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดกรอบแนวทางพัฒนาปัจจัยพื้นฐานให้เอื้อต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเป้าหมายใหม่ (Product Champion) รวมถึงให้เกิดการลงทุนเชิงพาณิชย์ และขับเคลื่อน flagship ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 อีกทั้ง อก. เตรียมที่จะนำเสนอแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ระยะที่ 1 (ปี พ.ศ. 2563-2570) ต่อ กอช. เพื่อพิจารณาในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 ก่อนนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

 

 

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า สำหรับภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในปี 2564 คาดว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) จะขยายตัวร้อยละ 5.2 ปรับตัวดีขึ้นจากปี 2563 ที่ MPI หดตัวร้อยละ 9.3 ขณะที่คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2565 อัตราการใช้กำลังการผลิตมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ประมาณการ MPI ขยายตัวร้อยละ 4.0-5.0 ส่วน GDP ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 2.5-3.5 เป็นผลจากตลาดส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง รวมถึงตลาดในประเทศเริ่มฟื้นตัวจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ของภาครัฐ ทั้งนี้ ยังต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ประกอบกับต้องพิจารณาปัจจัยราคาพลังงานและการขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมสำคัญที่มีการใช้แรงงานเข้มข้นต่อไป

#FOLLOW US ON INSTAGRAM