ซอฟต์แวร์ Autodesk พร้อมรีสตาร์ทอุตสาหกรรมไทยใหม่ให้เติบโต

 

 

 

เมื่อเร็วๆ นี้ นิตยสาร “แมนูแฟคเจอริ่งรีวิว” ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษผู้บริหารของ Autodesk ซึ่งได้มาเผยถึงทิศทางการดำเนินงานด้านการตลาดและสร้างการรับรู้ในซอฟต์แวร์ Autodesk รวมถึงผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ Autodesk ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

 

 

 

 

 

 

 

คุณ Detlev Reicheneder, Sr. Director PDMS-Industry Strategy, Autodesk GmbH ได้เผยถึงแผนการดำเนินงานด้านการตลาดในทั่วโลกและเอเชียว่า ในปีนี้ Autodesk ได้ให้ความสำคัญในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่ม Industrial Machinery กลุ่ม Building and Construction กลุ่ม Consumer Product และกลุ่ม Automotive

 

 

 

“ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มที่กล่าวมาข้างต้น ในประเทศไทยมีศักยภาพต่อการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ Autodesk ให้ความสำคัญทั้ง 4 กลุ่มนี้ เนื่องจากมีกลุ่มผู้รับจ้างผลิตหรือ OEM ตั้งฐานการผลิตอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์”

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คุณ Serene Sia, Sr. Managing Director, ASEAN ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า นอกจากประเทศไทยที่ Autodesk ให้ความสำคัญแล้ว ประเทศในอาเซียนที่กำลังมีการเติบโตทางอุตสาหกรรมการผลิต เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม Autodesk ก็ให้ความสำคัญด้วย เช่นกัน โดยเฉพาะเวียดนาม ซึ่งเป็นตลาดที่กำลังจะเติบโตขึ้นในอนาคตจึงอาจเป็นอีกหนึ่งตลาดต่อไปที่ Autodesk จะเข้าไปทำตลาดในส่วนของประเทศไทยที่มีฐานการผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคซึ่งเป็นตลาดที่สำคัญและในขณะเดียวกัน รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนเรื่องการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม จึงทำให้เทรนด์รถยนต์ไฟฟ้ากำลังเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมและภายในงาน Future Mobility Asia 2022 เราได้นำรถยนต์ไฟฟ้ามาโชว์ภายในงานเพื่อให้ผู้เยี่ยมชมได้เห็นและสนใจในแพลตฟอร์มของ Autodesk ในการออกแบบชิ้นงานหรือโครงสร้างรถยนต์ไฟฟ้า

 

 

 

 

 

 

 

 

คุณ Detlev เพิ่มเติมว่า Autodesk มุ่งส่งเสริมให้ผู้สนใจหรือลูกค้าได้นำซอฟต์แวร์ของเราไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการออกแบบ เพื่อช่วยลดมลพิษ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และต่อยอดสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยเฉพาะการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC (Eastern Economic Corridor) ที่เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการพัฒนาเชิงพื้นที่ ซึ่งหากมีลูกค้าหรือผู้สนใจซอฟต์แวร์ของ Autodesk ในการนำเข้าไปใช้ในงาน จึงอาจจะเป็นตัวช่วยหนึ่งในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และสร้างผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามหลักมาตรฐานสากล และจะส่งผลให้ธุรกิจเกิดการเติบโตรวมอยู่ด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

สำหรับการสร้างการรับรู้ในผลิตภัณฑ์ของ Autodesk แก่ผู้สนใจ หรือลูกค้า Autodesk จะออกงานแสดงสินค้าใหญ่ๆ โดยนำเสนอนวัตกรรมและโซลูชั่นส์ที่มีอยู่ในระดับเล็กๆ ไปจนถึงขนาดใหญ่ โดย Autodesk ไม่ต้องการนำเสนออะไรที่ใหญ่มากเกินไปจนทำให้ผู้สนใจเกิดความสับสน ยกตัวอย่างเช่น Case Study รถยนต์ไฟฟ้าที่นำมาโชว์ Autodesk ต้องการให้ผู้ใช้เกิดแรงบันดาลใจในการใช้ซอฟต์แวร์ของ Autodesk เพื่อใช้ในการออกแบบ โดยในประเทศไทย Autodesk มีทีมงานและตัวแทนจำหน่ายที่อยู่ในระดับต่างๆ ซึ่งพร้อมให้การสนับสนุนงานออกแบบในทุกๆ ด้าน อย่างเพียงพอ และในสถานศึกษา Autodeskมีการให้นักศึกษาได้ใช้ซอฟต์แวร์ของเราฟรีด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ใช้ได้รู้จักซอฟต์แวร์ของ Autodesk เพื่อนำไปใช้ในการทำงานต่อไป

 

 

“Autodesk ได้ลงทุนให้นักศึกษาในสถานศึกษาได้ใช้ซอฟต์แวร์ฟรีส่วนหนึ่ง เพื่อให้บุคลากรเหล่านั้นได้รู้จักซอฟต์แวร์ของ Autodesk ซึ่งทีมงานจะมีการจัดกิจกรรมออนไลน์อบรมกันอยู่สม่ำเสมอ เพื่อให้บุคลากรเหล่านั้นได้เข้าใจในซอฟต์แวร์ Autodesk และเมื่อบุคลากรนั้นออกไปสู่การทำงานจริงยังช่วยซัพพอร์ตในองค์กรต่างๆ ได้ ในกรณีองค์กรนั้นใช้ซอฟต์แวร์ของ Autodesk เพราะบุคลากรดังกล่าว เคยใช้งานแล้ว ในระหว่างเรียน อีกทั้งปัจจุบัน Autodesk ได้มีการนำเสนอเนื้อหาการใช้งานในรูปแบบของ YouTube ที่มีวิทยากรเป็นคนไทย เพื่อให้ผู้ใช้งานได้เข้าใจง่ายขึ้นด้วย” คุณ Serene กล่าว

 

 

 

“Autodesk อยู่ในตลาดเมืองไทยมา 30 ปี ทีมงานเรามีความพร้อมในการให้บริการแก่ผู้ใช้งานทั้งในทีมงาน Autodesk ที่อยู่ในประเทศ หรือว่าจะเป็นตัวแทนจำหน่าย รวมถึงช่องทางการถาม-ตอบ บนเว็ปไซน์ ที่เป็นภาษาอังกฤษที่คอยตอบผู้ใช้งานตลอดเวลาด้วย ซึ่งผู้ใช้ไม่ต้องกังวลด้านการใช้งานและการแก้ไขปัญหา เพราะเรามีทีมงานที่อยู่ในระดับ Local และ Global คอยช่วยเหลือท่านอยู่แล้ว” คุณ Detlev กล่าว

 

 

 

“Autodesk มีการพัฒนาแพลตฟอร์มหลากหลายโซลูชั่นส์ โดยเฉพาะโซลูชั่นส์ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI และคราวด์โซลูชั่นส์ ซึ่งผู้ใช้งานของ Autodesk สามารถเข้าไปใช้และพัฒนางานด้านต่างๆ ของตน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ ยกตัวอย่าง งานออกแบบสร้างสะพาน ซอฟต์แวร์ของ Autodesk จะมีการคำนวณด้วยฟีดเจอร์ให้ทุกส่วนว่ามีความต้องการขนาด กว้าง x ยาว เท่าใด โดยทุกสัดส่วนถูกคำนวณไว้อย่างถูกต้องแม่นยำ เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้เป็นผู้ดีไซน์เบื้องต้นและไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านวิศวกรรมเลย”

 

 

 

เสียงผู้ใช้งานจริงในซอฟต์แวร์ Autodesk

 

 

 

คุณ Matteo Barale, Chief Product Officer, PixMoving.Inc เผยว่า PIX MOVING เป็นบริษัทสตาร์ทอัพผู้พัฒนาและออกแบบระบบขับเคลื่อนด้วยตนเอง ซึ่งจะนำเสนอโซลูชั่นส์การออกแบบที่ครบวงจร ด้วยซอฟต์แวร์ที่โครงสร้างระบบขับเคลื่อนด้วยตัวเอง ตั้งแต่งานออกแบบแชสซีแบบ Drive-by-Wire หรือการผลิตรถยนต์ที่ปรับแต่งเองเป็นชุดๆ PIX MOVING ก่อตั้งเมื่อปี 2557 และลงทุน VCs เช่น SOSV มีประสบการณ์มากมายในด้านการควบคุมการเคลื่อนไหว เช่น หุ่นยนต์ การผลิตดิจิทัล การพิมพ์โลหะ 3 มิติ และสาขาอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วยการออกแบบแบบแยกส่วนและระบบการผลิตที่เป็นนวัตกรรมใหม่ โดยเฉพาะพื้นที่ขับเคลื่อนด้วยตนเองของ PIX MOVING ช่วยให้ปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่นระหว่างการใช้งานต่างๆ เช่น รถเที่ยวชมสถานที่อัตโนมัติ รถรับส่งแบบขับเคลื่อนด้วยตนเอง รถขายของอัตโนมัติ ตู้ขนส่ง สินค้าอัตโนมัติ ห้องอเนกประสงค์สำหรับขับขี่อัตโนมัติ และรถสายตรวจ สามารถใช้ได้กับสภาพแวดล้อมหลายประเภท เช่น สวนอุตสาหกรรม สวนสาธารณะ จุดชมวิว ลานจอดรถ สนามบิน ชุมชนที่อยู่อาศัย และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

“เรามีการออกแบบและผลิตแชสซีเพื่อการขับเคลื่อนด้วยตัวเอง ซึ่งลูกค้าสามารถนำส่วนประกอบอะไรก็ได้มาวางบนแชสซี โดยมีโรงงานตั้งอยู่ 3 ประเทศหลัก คือ อเมริกา ยุโรป และจีน และมีลูกค้าอยู่ 24 ประเทศทั่วโลก ในประเทศอาเซียนเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่บริษัทจะเข้ามาทำตลาดเช่น เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย”

 

 

 

ทำไมเลือกซอฟต์แวร์ Autodesk

 

 

 

“ซอฟต์แวร์ Autodesk มีความเหมาะสมกับบริษัทสตาร์ทอัพอย่างบริษัทเรา เนื่องจากเรามีการทำงานร่วมกับบริษัทสตาร์ทอัพในซานฟรานซิสโกของสหรัฐอเมริกา เพื่อการพัฒนาและคิดค้นผลิตภัณฑ์ ซึ่งเราได้เลือกใช้ซอฟต์แวร์ของ Autodesk Fusion 360 จึงทำให้เกิดความคุ้นเคย ประกอบกับทีมผู้เชี่ยวชาญ Autodesk ให้ความร่วมมือในการสนับสนุนด้านเทคนิคและอื่นๆ จนทำให้เรามีความเชื่อมั่นและใช้ซอฟต์แวร์ Autodesk อย่างเรื่อยมา”

#FOLLOW US ON INSTAGRAM